วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานครั้งที่ 5 ออกแบบ Wallpaper

Wallpaper 1 หัวข้อ Educational Technology


Wallpaper 2 สื่อสารเป็นเลิศ อัต ลักษณ์ครูยุคใหม่


Wallpaper 3 ศึกษาศาสตร์ก้าวไกล


Wallpaper 4 สังคมออนไลน์ มหันตภัย ที่ใกล้ตัว

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint(ชุดที่1) ใช้หลัการวางโครงสี Analogus

Template หน้า 1 หัวเรื่อง(Thai Version)



Template หน้า 2 เนื้อหา(Thai Version)


Template หน้า 3 ขอบคุณ(Thai Version)


Template หน้า 1 หัวเรื่อง(English Version)


Template หน้า 2 เนื้อหา(English Version)


Template หน้า 3 ขอบคุณ(English Version)

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานครั้งที่ 3 ออกแบบ Poster 5 หัวข้อ


รณรงค์การใช้ 13 ฟอนต์แห่งชาติ ใช้เทคการวางโครงสี Monochrome


รณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย ใช้เทคการวางโครงสี Triads


รณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ในสถานศึกษา และห้ามสูบบุหรี่ในขณะใส่ชุดนิสิต
ใช้เทคการวางโครงสี Dyads


รณรงค์มารยาทไทย การไหว้ กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และแสดงการมีน้ำใจ
ใช้เทคการวางโครงสี Analogus


รณรงค์การลดใช้พลังงานไฟฟ้า(หัวข้ออิสระ)
ใช้เทคการวางโครงสี Tetrads

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

การออกแบบ Graphic ลงบน Poster


โปรสเตอร์ของภาพยนตร์ เรื่อง Tron Legacy จากประเทศสหรัฐอเมริกา

การวางตำแหน่งจุดสนใจในงาน(Focus Point)
จะเน้นอะไรในงานที่ต้องการนำเสนอสิ่งที่ต้องการสร้างให้เด่นที่สุด งานที่เรากำลังจะออกแบบเป็นตาราง 9 โดยโปรสเตอรืนี้มีการวางตำแหน่งของชื่อเรื่องไว้ตรงตำแหน่งที่ 4 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุดในงาน

การสร้างความแตกต่างในงาน(Contrast)
ภาพนี้ใช้กรอบสี่เหลี่ยมที่มีความแตกต่างของรูปข้างใน ทำให้งานออกแบบนี้มีเอกภาพในด้านความแตกต่าง


การวางแยกองค์ประกอบให้โดดเด่น(Isolation)
เป็นวิธีที่ทำให้ผู้ชมงานสังเกตเห็นองค์ประกอบนั้นได้ง่ายซึ่งโปรสเตอร์นี้จัดองค์ประกอบได้เหมาะสมลงตัวมาก

การวางโครงสีในการออกแบบ
โปรสเตอร์นี้จะใช้การวางโครงสีในรูปแบบ Monochrome หรือโครงสีเอกรงค์ ซึ่งมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสีValue สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ซึ่งเหมาะสมกับตัวเรื่องของหนังได้เป็นอย่างดี

การวางโครงร่าง 5 สี ของงาน Graphic


1. Monochrome
หรือ โครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสีValue สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา และในด้านการออกแบบเป็นการใช้คู่สีที่ง่ายที่สุด แล้วออกมาดูดี




2. Analogus
หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน
อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็นที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้
แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง
หรือ หลุดออกจากโครงสีนี้ได้











3. Dyads
หรือโครงสีคู่ตรงข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการใช้สีคู่ตรงข้าม เพราะการเลือกใช้สึคู่ตรงข้ามด้วยกันนั้นถ้าเราหยิบสี 2 สีที่ตรงข้ามกันมาใช้ในพื้นที่พอ ๆ กัน งานนั้นจะดูไม่มีเอกภาพ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำงานศิลปะทางที่ดีเราควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพของการใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่งโดยประมาณมักจะใช้สีหนึ่ง70 % อีกสีหนึ่ง 30 % ภาพที่ได้ก็จะคงความมีเอกภาพอยู่ และยังมีความเด่นสะดุดตาไปได้ในตัว


4. Triads
หรือโครงสี 3 สี คือ
4.1 เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า
4.2 เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว


5 Tetrads
หรือโครงสี 4 สี คือ
5.1 การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีเท่ากันหมดกล่าวคือ ถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัส
5.2 การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีไม่เท่ากันโดยช่วงห่างของ 2 สีเป็นช่วงสั้นและอีก 2 สีเป็นช่วงยาว กล่าวคือถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้า

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมครั้งที่ 1 เปิดโลก Computer Graphic



กราฟิก เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก กราฟิก ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา

คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
คือกราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน

ความสำคัญของกราฟิกส์

เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
กระตุ้นความคิด
ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด


ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก





พิกเซล ( Pixel) หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์



ความละเอียดของจอภาพ หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600

บิต ( BIT ) ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจำที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 หมายถึงปิด และ 1 หมายถึงเปิด หรือสีขาวและสีดำ

ระบบสี ( Color Model )
ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additives สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB


ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง

บิตแมป (Bitmap ) หรือ Rastor จะประกอบไปด้วยพิกเซลเรียงต่อเนื่องกัน ภายในแต่ละพิกเซลจะมีองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงสี รูปทรง รูปแบบไฟล์ เราเรียกองค์ประกอบของพิกเซลนี้ว่า บิต ( Bit) ภาพบิตแมปนั้นเราอาจเรียกว่า ราสเตอร์ (Rastor ) หรือเพนต์ไทป์ (Paint-type) ก็ได้ สำหรับข้อดีของบิตแมป คือ จะมีความเร็วในการแสดงสูง ใช้หน่วยความจำน้อยกว่า ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมป เช่น Adobe Photoshop , Fractal Design Painter , Paint Shop Pro , L-View เป็นต้น

เวกเตอร์ (Vector) ภาพประกอบเวกเตอร์นั้นจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวสร้างภาพโดยรวมเอกออปเจ๊กหลายๆ ชนิดมาผสมกันเป็นรูปต่างๆ กันได้มากมาย ภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าเราจะย่อหรือขยาย จะไม่ทำให้ภาพเพี้ยนไปได้ แต่การแสดงผลจะช้ามาก ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator , Macromedia Freehand , Corel Draw เป็นต้น

รูปแบบของไฟล์
กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)

Transparent Feature หมายถึงคุณลักษณะของภาพที่มีการดรอป( Drop)การแสดงสีที่ต้องการมักจะเป็นสีพื้น (จริงๆ เลือกสีได้มากกว่า 1 สี)เพื่อให้สีที่เลือกโปร่งใสและแสดงผลตามสีพื้นของ Browser

Interlace Feature หมายถึงคุณลักษณะของการแสดงผลแบบโครงร่าง และค่อยๆ แสดงแบบละเอียด โดยใช้หลักการแทรกสอดของเส้นสี โดยปกติการแสดงผลภาพบนอินเทอร์เน็ต จะแสดงผลไล่จาก ขอบบนของภาพจนถึงขอบล่าง ซึ่งมักจะแสดงผลช้ามาก เพราะ ต้องรอให้แต่ละส่วนแสดงผลครบทุกความละเอียด

ความคาดหวังของรายวิชา 425437 Computer Graphic

กระผมมีความคาดหวังกับวิชา Computer Graphic ไว้อย่างสูงมากที่จะได้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำไปเป็นทักษะความรู้ในการประกอบวิชาชีพชีพในภายภาคหน้าอย่างเต็มความสามารถให้กับหน่วยงานหรือองค์กรของข้าพเจ้า