วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมครั้งที่ 1 เปิดโลก Computer Graphic
กราฟิก เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก กราฟิก ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์
คือกราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน
ความสำคัญของกราฟิกส์
เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
กระตุ้นความคิด
ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
พิกเซล ( Pixel) หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์
ความละเอียดของจอภาพ หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600
บิต ( BIT ) ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจำที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 หมายถึงปิด และ 1 หมายถึงเปิด หรือสีขาวและสีดำ
ระบบสี ( Color Model )
ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additives สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB
ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง
บิตแมป (Bitmap ) หรือ Rastor จะประกอบไปด้วยพิกเซลเรียงต่อเนื่องกัน ภายในแต่ละพิกเซลจะมีองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงสี รูปทรง รูปแบบไฟล์ เราเรียกองค์ประกอบของพิกเซลนี้ว่า บิต ( Bit) ภาพบิตแมปนั้นเราอาจเรียกว่า ราสเตอร์ (Rastor ) หรือเพนต์ไทป์ (Paint-type) ก็ได้ สำหรับข้อดีของบิตแมป คือ จะมีความเร็วในการแสดงสูง ใช้หน่วยความจำน้อยกว่า ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมป เช่น Adobe Photoshop , Fractal Design Painter , Paint Shop Pro , L-View เป็นต้น
เวกเตอร์ (Vector) ภาพประกอบเวกเตอร์นั้นจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นตัวสร้างภาพโดยรวมเอกออปเจ๊กหลายๆ ชนิดมาผสมกันเป็นรูปต่างๆ กันได้มากมาย ภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าเราจะย่อหรือขยาย จะไม่ทำให้ภาพเพี้ยนไปได้ แต่การแสดงผลจะช้ามาก ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator , Macromedia Freehand , Corel Draw เป็นต้น
รูปแบบของไฟล์
กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)
Transparent Feature หมายถึงคุณลักษณะของภาพที่มีการดรอป( Drop)การแสดงสีที่ต้องการมักจะเป็นสีพื้น (จริงๆ เลือกสีได้มากกว่า 1 สี)เพื่อให้สีที่เลือกโปร่งใสและแสดงผลตามสีพื้นของ Browser
Interlace Feature หมายถึงคุณลักษณะของการแสดงผลแบบโครงร่าง และค่อยๆ แสดงแบบละเอียด โดยใช้หลักการแทรกสอดของเส้นสี โดยปกติการแสดงผลภาพบนอินเทอร์เน็ต จะแสดงผลไล่จาก ขอบบนของภาพจนถึงขอบล่าง ซึ่งมักจะแสดงผลช้ามาก เพราะ ต้องรอให้แต่ละส่วนแสดงผลครบทุกความละเอียด
ความคาดหวังของรายวิชา 425437 Computer Graphic
กระผมมีความคาดหวังกับวิชา Computer Graphic ไว้อย่างสูงมากที่จะได้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะนำไปเป็นทักษะความรู้ในการประกอบวิชาชีพชีพในภายภาคหน้าอย่างเต็มความสามารถให้กับหน่วยงานหรือองค์กรของข้าพเจ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)